ทีไอทีวี เอเวอเรสต์ 2007
ทีไอทีวี เอเวอเรสต์ 2007

ทีไอทีวี เอเวอเรสต์ 2007

ทีไอทีวี เอเวอเรสต์ 2007 (อังกฤษ: TITV Everest 2007) มีชื่อเต็มว่า TITV The Everest: The Unlimited Spirit of Thailand 2007 หรือชื่อไทย “ปฏิบัติการเกียรติยศ สู่ยอดเอเวอเรสต์” เป็นโครงการส่งนักปีนเขาชาวไทย ขึ้นไปปีนเขาเอเวอเรสต์ ในปี พ.ศ. 2550 ให้การสนับสนุนโดยสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี กรมประชาสัมพันธ์ และกองทัพเรือไทย โดยมีการส่งทีมงานไปถ่ายทำภาพยนตร์เบื้องหลังการปีนเขา และส่งมาตัดต่อเป็นรายการสารคดีเรียลลิตีโชว์ ออกอากาศในประเทศไทยทางช่องทีไอทีวีการปีนเขามีกำหนด 3 เดือนตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน - 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550 โดยใช้เวลาฝึกฝนร่างกาย และปรับตัวเป็นเวลา 45 วัน และเริ่มต้นปีนจากแคมป์ฐาน ใช้เวลา 39 วัน จนถึงยอดเขา มีเป้าหมายที่จะนำธงชาติไทย ธงธรรมจักร และธงตราสัญลักษณ์พระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 80 พรรษา 5 ธันวาคม 2550 ไปปักบนยอดเขา เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชโครงการนี้เกิดจากแนวคิดของชิบ จิตนิยม ผู้ประกาศข่าวสถานีโทรทัศน์ทีไอทีวี เมื่อครั้งไปเยิ่ยมชมวัดไทยลุมพินีเมื่อกลางปี พ.ศ. 2550 โดยในครั้งแรกจะนำนายทหารหน่วยรบพิเศษของกองทัพเรือ 3 คน กองทัพอากาศ 3 คน และเจ้าหน้าที่ทีไอทีวี 1 คน อุปสมบทที่วัดไทยลุมพินี และเดินเท้านำธงธรรมจักรขึ้นไปประดับบนยอดเขา ต่อมาได้ยกเลิกแนวคิดนี้ไปด้วยข้อจำกัดเกี่ยวกับการดื่มน้ำและรับประทานอาหารของพระภิกษุ [1]ในปี 2007 มีนักปีนเขาจำนวนมากที่ขึ้นสู่ยอดเขาเอเวอเรสต์ โดยขึ้นจากทางทิศเหนือ จากทิเบต ประเทศจีน และหลีกเลี่ยงการขึ้นจากทางทิศใต้ จากประเทศเนปาลเนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองไม่มั่นคง [2] แต่สถานีโทรทัศน์ทีไอทีวีเลือกเส้นทางนี้ โดยให้เหตุผลว่าต้องการเดินทางจากประเทศเนปาล ซึ่งเป็นสถานที่ประสูติของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า [2] มีประมาณการค่าใช้จ่ายทั้งสิ้นประมาณ 450,000 ดอลลาร์สหรัฐ [2](ประมาณ 15 ล้านบาท)[3] ใช้เวลาเตรียมการทั้งสิ้น 4 เดือน [1]นักปีนเขาในทีม ประกอบด้วย คนไทยจำนวน 9 คน ทีมงานสนับสนุนชาวไทย ไกด์นำทางและลูกหาบเชอร์ปา นักปีนเขาทั้ง 9 คน ประกอบด้วย นักปีนเขาที่ผ่านการคัดเลือกจำนวน 9 คน เป็นทหารเรือ 3 คน ทีมงานทีไอทีวี 4 คน [4] เป็นผู้หญิง 1 คน สมทบกับอนุศักดิ์ จงยินดี นักปีนเขาอิสระ ที่มีโครงการจะปีนยอดเขาเอเวอเรสต์ภายในปี พ.ศ. 2553 แต่ได้รับการสนับสนุนให้ร่วมทีมในปีนี้เป็นกรณีพิเศษอีก 1 คน แทนเจ้าหน้าที่ทีไอทีวีผู้ที่สละสิทธิ์ให้ไปแทน [5]นักปีนเขาทั้ง 9 คน สามารถขึ้นถึงยอดเขาไอแลนด์พีกในช่วงของการฝึกซ้อม และในการปีนขึ้นเอเวอเรสต์ มี 4 คน ขึ้นไปได้ถึงแคมป์ 3 ที่ความสูง 7,300 เมตร มี 3 คน ขึ้นไปได้ถึงแคมป์ 4 ที่ความสูง 7,900 เมตร ทั้งสามคนนี้เตรียมที่จะขึ้นสู่ยอดเขาในวันที่ 7 พฤศจิกายน 2550 แต่ไม่สำเร็จเนื่องจากสภาพอากาศเลวร้าย นักปีนเขาทั้งหมดเดินทางกลับมาได้อย่างปลอดภัยนักปีนเขากลุ่มนี้ เป็นคนไทยกลุ่มแรกที่ปีนเอเวอเรสต์ขึ้นไปได้สูงเกิน 8,000 เมตร ก่อนหน้านี้มีคนไทยเคยปีนเอเวอเรสต์ แต่ไม่เคยขึ้นถึงระดับนี้ เช่น กิ่งแก้ว บัวตูม ขึ้นไปได้ถึงระดับ 7,000 เมตร เมื่อ พ.ศ. 2540 [6] นอกจากนี้ยังมีคนไทยที่พยายามปีนเอเวอเรสต์ในปี พ.ศ. 2549 [7] แต่ต้องล้มเลิกไปเพราะขาดผู้สนับสนุน[8] และยังมีอีกกลุ่มหนึ่งที่วางโครงการจะปีนยอดเขาเอเวอเรสต์ ภายใน พ.ศ. 2553[9]ต่อมาในปี พ.ศ. 2551 หลังสิ้นสุดปฏิบัติการทีไอทีวี เอเวอเรสต์ 2007 ประมาณ 6 เดือน นายวิทิตนันท์ โรจนพานิช ผู้กำกับภาพยนตร์ และนักปีนเขาสมัครเล่นชาวไทย ในฐานะหัวหน้าทีมปีนเขา รวมถึงทีมนักปีนเขาชาวเวียดนามอีก 3 คน ก็สามารถปีนขึ้นสู่ยอดเขาเอเวอร์เรสต์ได้สำเร็จเมื่อวันที่ 22 พฤษภาคม ในภารกิจ Everest 2008 : Vietnam Sprit To The World ซึ่งถ่ายทอดเป็นรายการเรียลลิตีโชว์เอเวอร์เรสต์เวียดนาม ทางสถานีโทรทัศน์เอชทีวี ของประเทศเวียดนาม และมีนายวิทิตนันท์เป็นผู้อำนวยการผลิตรายการ

แหล่งที่มา

WikiPedia: ทีไอทีวี เอเวอเรสต์ 2007 http://www.trekkingthai.com/board/webboard.php?Cat... http://www.mounteverest.net/news.php?id=16490 http://www.teachersdomain.org/resources/ess05/sci/... http://www.kaewbuatoom.com/bio.html http://www.everestnews.com/everestnews/sweeeverest... http://news.monstersandcritics.com/southasia/news/... http://www.everestnews.com/everest2007/thiaeverest... http://www.everestnews.com/everest2007/thiaeverest... https://web.archive.org/web/20071109075023/http://... https://web.archive.org/web/20071014061151/http://...